อาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
          จากสถานการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อของประชาชนคนไทยในปัจจุบัน พบว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่มียอดผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปีสูงมาก ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ปี 2564 พบว่าโรคมะเร็งและเนื้องอก ถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุหลัก 1 ใน 7 ของโรคที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดของคนไทย รวมถึงข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติก็ได้รายงานว่าคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่สูงถึง 140,000รายต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละประมาณ 400 ราย
โรคมะเร็งหลัก ๆ แล้วน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
          สาเหตุหลัก ๆ ของการป่วยเป็นมะเร็ง สวนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น
กินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารที่ไขมันสูง หรือรับประทานอาหารแปรรูปต่าง ๆ การไม่ทานผักและผลไม้ หรือรับประทานในปริมาณน้อย รวมถึง พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ภาวะเครียด การได้รับรังสี การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะมลพิษต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของการป่วยเป็นมะเร็งในปัจจุบันนี้
          พฤติกรรมการรับประทานอาหารในสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความเร่งรีบในตอนเช้า มักรับประทานอาหารง่าย ๆ ไม่พิถีพิถันในการเลือกรับประทานมากนัก เพราะต้องเร่งรีบไปทำงาน
การรับประทานอาหารในยุคปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน
          พฤติกรรมการรับประทานอาหารในสังคมยุคปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ นั่นคือ อาหารจานเดียวที่เน้นเฉพาะเนื้อสัตว์และมักมีไขมันสูง รสจัด หรืออาหารประเภทปิ้งย่าง หรือของทอด ก็จะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็ง และโรคมะเร็งที่เกิดกับลำไส้ใหญ่ก็มักพบว่ามาจากการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นหลัก
อาหารอะไรหรือวัตถุดิบในการประกอบอาหารอะไรบ้าง ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่บ้าง
          อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร และเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลัก ๆ ก็มีอยู่ 5 ชนิด
ชนิดแรก คือ เนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งเป็นการเอาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไปแปรรูป เช่น ไส้กรอก ฮอทดอก แฮม เบคอนหมูยอ แหนม หมูปิ้ง อาหารแปรรูปเหล่านี้จะมีส่วนผสมของสารกันบูดค่อนข้างมาก ซึ่งสารกันบูดถือเป็นอาหารชั้นยอดของเซลล์มะเร็ง การกินอาหารเหล่านี้เป็นประจำอาจจะเสี่ยงเจ็บป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ชนิดที่ 2 คือ เนื้อแดง คือ เนื้อสัตว์สีแดงเข้มสดที่ขายกันอยู่ในตามท้องตลาด เนื้อแดงนี้จะมีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เมื่อผ่านกรรมวิธีใช้ความร้อนสูงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปิ้ง ย่าง ทอด ต้ม ลวก และหากรับประทานมากเกินไป สารชนิดนี้จะก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร การรับประทานเนื้อสัตว์นั้นจริงๆ แล้วเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายถือเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่นเนื้อแดงก็ควรรับประทานไม่เกินวันละ 50 กรัม หรือสัปดาห์ละไม่เกิน 500 กรัม
ชนิดที่ 3 นมวัว จากการวิจัยได้พบว่าเด็กแรกเกิดที่กินนมวัวจะมีอาการเป็นภูมิแพ้ได้มากกว่าเด็กที่กินนมจากอกแม่และมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงเท่ากับเด็กที่กินนมจากแม่ และจากการวิจัยได้พบว่าสารในนมวัวบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภคด้วย ถึงแม้ว่าน้ำนมวัวจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน แคลเซียม และเหล็ก แต่สารอาหารเหล่านี้เราสามารถบริโภคได้จากอาหารอื่น ๆ ที่ปลอดภัยกว่า เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ หรือพืชผักใบเขียว
ชนิดที่ 4 น้ำตาล ในที่นี้คือน้ำตาลที่เกิดจากการแปรรูป ไม่ใช่สารให้ความหวานที่ได้จากธรรมชาติพวกน้ำผึ้งนะครับ น้ำตาลแปรรูปคือ น้ำตาลทรายที่สกัดจากอ้อย รวมถึงน้ำตาลเทียมพวกขัณฑสกรที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลเทียมต่าง ๆ เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกายได้ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ ส่วนน้ำตาลทรายแปรรูปนั้นเป็นสารที่ให้พลังงานแก่เซลล์ในร่างกาย ดังนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณมากน้ำตาลก็ถูกเผาผลาญเป็นพลังงานให้แก่เซลล์ และเซลล์มะเร็งด้วยเช่นกันซึ่งจะทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้
         จะเห็นได้ว่าอาหารการกินนั้นสำคัญต่อร่างกายและสุขภาพอย่างมากเลยนะคะ รับประทานอาหาร
ถูกวิธีและในปริมาณที่เหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้ารับประมาณในปริมาณที่มากเกินไปหรือรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปหรือสารสังเคราะห์มากเกินไปก็จะเกิดโรค เช่น โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่
         นอกจากเรื่องอาหารที่เสียงต่อการเป็นมะเร็งแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัจจัยด้านอายุหรือเพศจะมีความสัมพันธ์ต่อการป่วยเป็นมะเร็งลำใหญ่อีกไหม
          อายุและเพศก็มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกันเดียวกัน มีงานวิจัยที่พบว่า เพศชายมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงคิดเป็น 2.3 เท่าของเพศหญิง และพบว่าอายุระหว่าง 60-79 ปี มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงคิดเป็น 0.3 เท่าของช่วงอายุอื่นๆ และนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีประวัติอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงคิดเป็น 4.6 เท่าของผู้ที่ไม่มีประวัติอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
         อาการเบื้องต้นของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีอาการแสดงในเบื้องต้นอย่างไร เพื่อที่จะสังเกตอาการได้ด้วยตนเองและจะได้ไปพบแพทย์และทำการรักษาได้ทันท่วงที
         อาการเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติและอาจป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็พบว่ามักจะมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ท้องผูก ถ่ายไม่สุด หรือปวดเบ่งอยู่ตลอดเวลา หรือบางท่านพบอุจจาระลำเล็กลง หรือมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
          เมื่อทราบอาการเบื้องต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว และพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการคัดกรองและตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะทำการรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Loading